วารสารกระแสวัฒนธรรมฉบับนี้เป็นฉบับที่ 40 แล้ว เวลาช่างผ่านไปอย่างรวดเร็วเหลือเกิน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวัฒนธรรมเกี่ยวข้องกับรูปแบบกิจกรรมของสังคมมนุษย์ที่แสดงความเป็นชาติให้ปรากฏชัดเจนขึ้น แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคตามสมัย ทำให้การศึกษาด้านวัฒนธรรมมีแง่มุมต่างๆ ที่น่าสนใจใคร่ศึกษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวารสารกระแสวัฒนธรรมฉบับนี้ ประกอบด้วยบทความวิจัยและบทความวิชาการที่น่าสนใจหลายบทความ โดยเฉพาะบทความเรื่องการแสดงมะโย่งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของชาวมุสลิมที่มีมานานกว่า 400 ปี รวมทั้งบทความที่พยายามจะสื่อให้เห็นว่าข้าวตอกมีส่วนสำคัญกับวิถีชีวิตคนอีสานอย่างไร เป็นต้น ท้ายนี้ ในนามของกองบรรณาธิการ ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกท่านที่นำบทความที่น่าสนใจมาตีพิมพ์เผยแพร่ และขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิที่ช่วยประเมินบทความและได้กรุณาให้ข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์ เพื่อให้บทความทุกบทความมีความสมบูรณ์ขึ้น ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย
บรรณาธิการ
Editorial
ผศ.ดร.ชลลดา มงคลวนิช
บทความวิจัย
Research Article
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ชุมชนเรื่องพิธีกรรมพื้นบ้านล้านนาเพื่อเสริมสร้างสุขภาพจิตผู้สูงอายุ
สามารถ ใจเตี้ย
การแสดงมะโย่งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
สุขสันต์ สกุลสวน และเรวดี อึ้งโพธิ์
การศึกษาอัตลักษณ์ประเพณีบุญเดือนหกเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดชัยภูมิ
ฐิติรดา เปรมปรี
จากนิทานพื้นบ้านในจังหวัดเลยสู่ภาพยนตร์เชิงสร้างสรรค์
ภัทรธิรา ผลงาม และฐานชน จันทร์เรือง
การพัฒนาศักยภาพกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มชนไทยทรงดำ
นงลักษณ์ โพธิ์ไพจิตร และคณะ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เคยปลาสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของชาวบ้านหมู่ที่ 12 ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
วารีพร ชูศรี และคณะ
บทความวิชาการ
Academic Article
ฟ้อนถวยสมมาข้าวตอกมงคล
ชมภูนาฎ ชมภูพันธ์ และคณะ
การศึกษาอัตลักษณ์แม่สอดเพื่อนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวในเทศบาลแม่สอด จังหวัดตาก
กฤติกา สายณะรัตร์ชัย และคมสิทธิ์ เกียนวัฒนา
แนวทางการพัฒนาสู่การเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของอำเภอพนัสนิคมจังหวัดชลบุรี
ตวงทอง สรประเสริฐ